หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

น้ำ ทรัพยากรการผลิตที่สำคัญ

      น้ำ คือต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล และเป็นพลังขับเคลื่อนของการพัฒนาที่ไม่เคยหยุด เป็นความสมบูรณ์ของภูมินิเวศน์ เป็นปัจจัยขจัดความยากจนและความหิว เป็นสิ่งจำเป็นของสุขภาพ เป็นสวัสดิการของมนุษย์และสัตว์  การให้ความสำคัญกับน้ำ ถือเป็นความเร่งด่วนของทุกภูมินิเวศน์ ทุกท้องถิ่น ทุกจังหวัด และทุกประเทศในโลกใบนี้  
รัฐบาลควรให้การสนับสนุน ในการสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานท้องถิ่นและชุมชน โดยพิจารณาถึงความยากจนและความอ่อนแอของภูมนิเวศน์
    
      ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ  ควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย  แสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เน้นที่ครัวเรือน ชุมชนและเครือข่ายโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมในการแบ่งปันผลประโยชน์  
ในมุมมองที่ให้ความสำคัญกับความยากจนและขาดโอกาส ที่จะเข้าถึงทรัพยากรสำคัญที่เป็นปัจจัยการผลิตนี้ 
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งมวล  จะต้องมีความโปร่งใสและเชื่อถือได้ในทุกขั้นตอน
           
ความพยายามที่จะสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถให้กับชุมชน  โดยแสวงหาความช่วยเหลือด้านวิชาการและอื่นๆ จากทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการกำกับดูแล การแลกเปลี่ยน วิธีคิด วิธีปฏิบัติ ที่สร้างสรรค์ ที่สอดคล้องกับสภาพของภูมินิเวศน์นั้นๆ   ชี้และบอกความสำคัญของน้ำ  และสะท้อนออกมาในแผนชีวิตชุมชน  เพื่อผลักดันให้เกิดกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน  เพื่อส่งผลต่อความพยายามลดปัญหาความยากจน  การบริหารจัดการทรัพยากรนั้น ต้องเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม และสังคมท้องถิ่นรวมถึงผู้ยากไร้          การคำนึงถึงความเหมือนและความแตกต่างกันของภูมินิเวศน์ จะต้องเคารพและรับฟังปัญหาของแต่ละภูมินิเวศน์   ด้วยความตระหนักในความเปราะบางของธรรมชาติแห่งทรัพยากรน้ำ  เรียกร้องภาครัฐ ภาคเอกชน ให้หันมาสนใจ  ยินดีเป็นเครือข่าย สร้างแผนปฏิบัติการเรื่องน้ำกับทุกภาคส่วน  เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งเสริมความร่วมมือ
                   การวางเป้าหมายที่จะพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ และแผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ  ต้องแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องน้ำ ผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งผู้บริจาคเอกชน และองค์กรประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง  ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้   แสวงหาหน่วยงานที่ทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์  ในเรื่องการพยากรณ์ และติดตามดูแลวัฏจักรของน้ำ  ลดการสูญเสียในระบบส่งน้ำ และมาตรการการใช้น้ำ  เพื่อตอบสนองต่อการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า  ให้ความร่วมมือต่อการใช้เทคโนโลยี่ใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  แสวงหาวิธีการที่จะเข้าถึงทรัพยากรน้ำของผู้ที่ขาดโอกาส  เพื่อสุขภาพอนามัยและการเกษตรที่เป็นธรรม
    
         การผลิตภาคเกษตรกรรมและพัฒนาชนบท  เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารและขจัดความยากจน  
การผลิตอาหาร การเติบโตทางเศรษฐกิจ  รายได้ประชาชาติ และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม  จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการน้ำแบบยั่งยืน  และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคเกษตร  การขยายระบบชลประทานในพื้นที่ที่ต้องการ  การมีส่วนร่วมการฟื้นฟูและปรับปรุงสิ่งก่อสร้างด้านน้ำที่มีอยู่  การเก็บเกี่ยวประโยชน์จากน้ำอย่างคุ้มค่า  การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยทนทานต่อความแห้งแล้ง  การแสวงหาแหล่งกักเก็บน้ำในรูปแบบที่เหมาะสม  การประมงน้ำจืดควรได้รับการเอาใจใส่ด้านการปรับปรุงคุณภาพ และปริมาณในแม่น้ำ และการคุ้มครองรวมถึงการฟื้นฟูแหล่งขยายพันธุ์
    
การแก้ไขป้องกันมลพิษทางน้ำ  เพื่อสุขภาพอนามัย เพื่อสิ่งแวดล้อม และคุ้มครองภูมินิเวศน์  ต้องตระหนักถึงภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านน้ำ ศึกษาผลกระทบของกิจกรรมชุมชนพื้นที่ต้นน้ำ  ที่มีต่อวัฎจักรน้ำทั้งหมด ด้วยการแสวงหาความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้จากชุมชน  สถาบันการศึกษา เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างถูกต้อง คุ้มค่าและยั่งยืน
                                                                                                                                          
                                             
                                                                         นายมานะ  ศรีวะรมย์
                                                                                                                                                                       
(รวบรวมมาเรียบเรียง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม